หลักการ VPA
หลักการต่อไปนี้อธิบายถึงหลักปรัชญาเบื้องหลังข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) และความแตกต่างของ VPA กับข้อตกลงทางการค้าทั่วไป
VPA เป็นข้อตกลงที่ทำด้วยความสมัครใจ แต่หลังจากทำข้อตกลงแล้ว จะมีผลผูกพันทางกฎหมาย สหภาพยุโรปและประเทศส่งออกไม้เลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการ VPA เอง หากมีการลงสัตยาบัน VPA จะมีผลผูกพันทั้งสหภาพยุโรปและประเทศหุ้นส่วน
VPA เป็นกระบวนการแบบมีส่วนร่วม และสะท้อนถึงฉันทามติแห่งชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการ VPA มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตามความคาดหวังของตลาด สหภาพยุโรปแนะนำให้ภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม และถ้าเป็นไปได้ ชุมชนท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมตลอดทั้งกระบวนการ VPA
VPA เป็นกระบวนการที่นำไปปฏิบัติได้จริงและมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ VPA ทำให้ปัญหาที่ระบุโดยผู้มีส่วนได้เสียมีทางออกที่มั่นคงยั่งยืน โปร่งใส และเป็นไปได้
VPA เป็นกระบวนการที่โปร่งใส การเจรจาเพื่อตกลงทางการค้ามักจัดขึ้นแบบไม่เปิดเผย แต่การเจรจา VPA มีขึ้นโดยมีการปิดบังน้อยที่สุด
VPA เป็นมากกว่าข้อตกลงทางการค้า VPA ยังมีเป้าหมายส่งเสริมความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
VPA ส่งเสริมการมีธรรมาภิบาล VPA มีเป้าหมายพัฒนาความโปร่งใส พันธะความรับผิดชอบ และการบังคับใช้กฎหมายให้ดีขึ้น และเสริมสร้างสิทธิของประชาชนที่พึ่งพาป่าไม้ให้มีความเข้มแข็ง
VPA มีประเทศเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียจะรับประกันถึงความเป็นเจ้าของในระดับชาติของ VPA และทำงานได้ผลดีในบริบทระดับชาติ
VPA เป็นกระบวนการที่ยืดหยุ่น กระบวนการ VPA เปิดรับความคิดเห็นและวิธีแก้ปัญหา มีการนำไปประยุกต์ใช้กับสภาพที่เป็นจริงและเป้าหมายของหุ้นส่วนในแต่ละประเทศ ไม่มีพิมพ์เขียว และไม่มีกำหนดเวลาดำเนินกระบวนการ VPA ที่เข้มงวดข้อมูลเพิ่มเติม
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแกะกล่อง VPA
ลิงค์ภายนอก
Duffield, L. and Ozinga, S. 2014. Making Forestry Fairer: A Practical Guide for Civil Society Organisations Taking Part in VPA Negotiations. FERN. 68pp. [ดาวน์โหลดไฟล์ PDF]
Othman, M. et al. 2012. FLEGT Voluntary Partnership Agreements. ETFRN News 53: 109-116. [ดาวน์โหลดไฟล์ PDF]
Pearce, F. 2012. Forest Stands: How New EU Trade Laws Help Countries Protect Both Forests and Peoples. FERN. 24pp. [ดาวน์โหลดไฟล์ PDF]